ไฮยาลูรอน กุญแจสำคัญสู่ผิวชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์
ไฮยาลูรอนหรือกรดไฮยาลูรอนิค น่าจะเป็นคำที่หลายคนคุ้นหู ทั้งจากวงการความงามและตามโฆษณาครีมต่างๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วกรดไฮยาลูรอน คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ? มีสรรพคุณสร้างความชุ่มชื้น ชะลอความแก่ สร้างอนุมูลอิสระได้จริงหรือไม่ ? หมอมีคำตอบในบทความนี้ครับ
สารบัญ ไฮยาลูรอน
ไฮยาลูรอน คือ ?
กรดไฮยาลูรอน หรือ กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เรียกกันสั้น ๆ ว่า “HA” เป็นสารธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะบริเวณดวงตาและข้อต่อจะพบว่ามี HA เข้มข้นสูงสุด มีส่วนสำคัญในการเพิ่มความต้านทานต่อการเสียดสี โดยเฉพาะที่ ข้อต่อ ข้อเข่า
ต่อมาจึงมีการคิดค้น “กรดไฮยาลูรอนสังเคราะห์” เพื่อทดแทนไฮยาลูโรนิค เอซิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นโดยมีคุณสมบัติเด่นในด้านการอุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น รักษาความชุ่มชื้น ป้องกันริ้วรอยบนผิวหนัง เช่น ริ้วรอยที่ร่องแก้มและบริเวณรอบดวงตา ที่มักปรากฏชัดขึ้นบนใบหน้า จากการแสดงสีหน้า อารมณ์ การขมวดคิ้ว รวมถึงมีการนำไฮยาลูรอน มาใช้สำหรับโรคข้อต่าง ๆ ด้วยครับ
ไฮยาลูรอน มีกี่ประเภท ?
กรดไฮยาลูรอนที่ได้จากการสังเคราะห์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามขนาดของโมเลกุล
- High Molecular Weight HA
ไฮยาลูรอนสายยาว มีขนาดโมเลกุลใหญ่ ซึมเข้าสู่ผิวไม่ได้ แต่จะเคลือบอยู่บนผิวช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น และป้องกันการสูญเสียน้ำของผิว
- Medium Molecular Weight HA
ไฮยาลูรอนสายกลาง มีโมเลกุลขนาดกลาง สามารถซึมเข้าได้ถึงชั้นผิวหนังกำพร้า (Epidermis) ช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ดูอิ่มฟู
- Low Molecular Weight HA
ไฮยาลูรอนสายสั้น มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด สามารถซึมเข้าสู่ชั้นผิวได้ลึก ช่วยกระตุ้นสร้างไฮยาลูรอน เพิ่มความชุ่มชื้นจากภายใน ทำให้ผิวดูเรียบเนียนและกระชับ เหมาะสำหรับการฟื้นฟูผิวในระยะยาว
ชนิดของไฮยาลูรอน
นอกจาก Hyaluronic Acid ยังมีไฮยาลูรอนชนิดอื่น ๆ เช่น
- Hydrolyzed Hyaluronic Acid ช่วยรักษาและเพิ่มความชุ่มชื้นภายในผิว เหมาะกับผู้ที่มีผิวมันหรือผิวผสม
- Sodium Hyaluronate ช่วยดึงน้ำจากภายนอกเข้าสู่ผิวและช่วยสร้างฟิล์มบนผิวเพื่อป้องกันการระเหยออกของน้ำ มักจะเป็นส่วนผสมในเซรั่ม เหมาะกับผิวธรรมดาที่ไม่ได้ต้องการการบำรุงมาก
- Sodium Hyaluronate Crosspolymer ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นที่ผิวชั้นนอกได้ดี ป้องกันน้ำระเหยออกจากผิว โดยการสร้างฟิล์มให้ความชุ่มชื้น
- Sodium Acetylated Hyaluronate ช่วยทำให้ความชุ่มชื้นเกาะติดที่ผิวได้ดี เหมาะกับคนที่มีผิวแห้ง ต้องการความชุ่มชื้นมาก
- Potassium Hyaluronate เพิ่มความชุ่มชื้นจากผิวด้านในไปยังผิวด้านนอก รักษาระดับความชุ่มชื้นในชั้นผิว
- Hydroxypropyltrimonium Hyaluronate ช่วยสร้างชั้นฟิล์มเคลือบผิว เพื่อกักเก็บน้ำ รักษาความชุ่มชื้น
- Hydrolyzed Sodium Hyaluronate โมเลกุลขนาดเล็กมาก ให้ความชุ่มชื้นเข้าสู่ภายในผิวได้ลึกถึงชั้น epidermis และ dermis ป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นจากภายใน
กระบวนการทำงานของไฮยาลูรอน
กรดไฮยาลูรอนจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ (Polymer) ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบทางเคมีอื่น ๆ ช่วยดึงดูดและจับกับโมเลกุลของน้ำและเพิ่มปริมาณน้ำในผิวหนัง เพิ่มความชุ่มชื้นโดยไม่เพิ่มความมันบนผิวชั้นนอก
ไฮยาลูรอนคอยยึดคอลลาเจนไว้ด้วยกัน ซึ่งคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น จะพบกระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อประสาท นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม Aquaporin-3 ซึ่งเป็นช่องทางการไหลของน้ำสู่ผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น และควบคุมการยืดหยุ่นของผิวให้ดียิ่งขึ้น
เปรียบเทียบไฮยาลูรอนกับสารบำรุงชนิดอื่น
โดยทั่วไปในครีมหรือเซรั่มต่าง ๆ จะมีการผสมสารบำรุงต่าง ๆ ที่ก็จะออกฤทธิ์หรือให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปครับ หมอจะยกตัวอย่างสารตัวที่เห็นบ่อย ๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร ต่างกับไฮยาลูรอนไหม
- Aquaporin ช่วยเติมน้ำให้ผิว รักษาระดับความชุ่มชื้นเพื่อให้ผิวเนียนนุ่มและมีความยืดหยุ่น
- Glycerol มีคุณสมบัติในการดูดหรือกักเก็บความชื้นเข้าสู่ผิว ช่วยให้สารบำรุงอื่น ๆ ซึมเข้าสู่ชั้นผิวได้ดีขึ้น และกระตุ้น การทำงานของ Aquaporin
- Retinol สารในกลุ่มอนุพันธ์ของวิตามิน A ตัวนี้จะพบบ่อย ๆ ในครีมลดเลือนริ้วรอย (Anti-Aging) กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน ลดสิว
- Arbutin ช่วยลดเม็ดสี แก้ปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ ทำให้ผิวกระจ่างใส สม่ำเสมอมากขึ้น
- Vitamin มีหลายชนิด เช่น วิตามิน C, วิตามิน E ช่วยเรื่องบำรุงผิวหน้า ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันแสงแดด ทำให้ผิวกระจ่างใส มีน้ำมีนวล
จะเห็นได้ว่าสารบำรุงแต่ละตัวก็จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องที่แตกต่างกันไปครับ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีปัญหาแบบไหน สภาพผิวเป็นอย่างไร แต่ไฮยาลูรอน ถือเป็นฐานที่สำคัญของโครงสร้างผิว ทำให้เนื้อเยื่อเติบโตได้ และช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย
สำหรับคนที่ต้องการงานผิว ความชุ่มชื้นถือเป็นสิ่งสำคัญครับ เพราะผิวที่แห้งกร้าน นอกจากจะทำให้ผิวไม่เรียบเนียน มีรูขุมขนกว้าง ยังทำให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอ เสี่ยงต่อการถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งนำไปสู่ปัญหาผิวอื่น ๆ เช่น สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ หรือริ้วรอย
กรดไฮยาลูรอนนำมาใช้อะไรได้บ้าง ?
- เป็นส่วนผสมของครีมบำรุง/เซรั่ม
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าในครีมหรือเซรั่มหลาย ๆ ตัว ทั้งครีมบำรุงผิว, Eye creams มักมีส่วนประกอบของไฮยาลูรอน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่นและมอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizers) ให้แก่ผิว โดยมีการพัฒนาทำให้กรดไฮยาลูรอนมีขนาดโมเลกุลเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่ผิวได้จากภายนอกครับ
- Sheet masks สำหรับมาส์กหน้า
การมาส์กหน้า จะช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิว กำจัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายออก ในมาส์กหน้าที่มีส่วนผสมของ hyaluronic acid จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น กักเก็บน้ำไว้ในผิว
- Cleansers
ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าหลาย ๆ ตัวก็มีส่วนผสมของ hyaluronic acid ช่วยทำสามารถทำความสะอาดผิวได้อย่างอ่อนโยน ผิวไม่แห้ง ไม่ตึง หรือสูญเสียความชุ่มชื้นไป
- Lip treatments
ริมฝีปากเป็นอีกหนึ่งจุดที่บอบบางและแห้งแตกง่าย ในลิปบำรุงที่มีไฮยาลูรอน จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างล้ำลึก ทำให้ริมฝีปากนุ่มและเรียบเรียน
- การฉีดฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์ก็เป็นสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอนอีกชนิดหนึ่งครับ มีลักษณะเป็นเนื้อเจล ใช้ฉีดเพื่อเสริมชั้นกระดูก ส่วนที่เนื้อยุบลงไปจากอายุที่มากขึ้น ลดริ้วรอย หรือจะใช้เสริมส่วนที่มีปัญหาบนใบหน้า เช่น เสริมคาง เสริมขมับ เสริมหน้าผาก
ถ้าเทียบกับการทาครีมที่มีกรดไฮยาลูรอนแบบทั่วไปแล้ว การฉีดฟิลเลอร์ เป็นวิธีลดริ้วรอย ปรับรูปหน้าแบบเร่งด่วน แก้ปัญหาได้ตรงจุดและเห็นผลลัพธ์ดีกว่ามากครับ
บทความแนะนำ
ฟิลเลอร์สามารถใช้ฉีดได้หลายจุดบนใบหน้า 7 จุด ที่ฉีดแล้วเห็นผลชัดเจนที่สุด ได้แก่ ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์จมูก
โดยแต่ละตำแหน่ง ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามปริมาณฟิลเลอร์ที่ใช้ รุ่น/ยี่ห้อฟิลเลอร์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ฉีดฟิลเลอร์ราคา โปรโมชั่นสุดคุ้ม พร้อมข้อควรรู้ก่อนฉีดฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อ
ไฮยาลูรอน กินได้ไหม ? สามารถกินได้ครับ มีอยู่ในส่วนผสมของอาหารเสริม วิตามิน หรือตัวยาต่าง ๆ ที่ช่วยในการรักษาโรคด้วย
ไฮยาลูรอน อันตรายไหม ?
“Hyaluronic acid : HA” ไฮยาลูรอนหรือกรดไฮยาลูโรนิก เป็นสารที่มีการนำมาใช้กันยาวนาน โดยเป็นโมเลกุลของน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า polysaccharide มีอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยปกติร่างกายมนุษย์จะมีไฮยาลูรอนอยู่แล้ว จึงไม่ใช่สารที่อันตรายครับ
ต่อมามีการผลิตไฮยาลูรอนสังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการดูแลผิวและลดริ้วรอย โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้อนุมัติว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัย นิยมใช้ในวงการแพทย์และทางด้านความงามอย่างแพร่หลาย
ในปัจจุบันมีการผลิตฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอน ออกมาจากหลายประเทศครับ ฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทความ ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดีที่สุด เหมาะกับบริเวณใด?
การใช้ไฮยาลูรอนมีโอกาสที่จะแพ้ไหม ?
เนื่องจากไฮยาลูรอนเป็นสารที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ จึงจะไม่ทำให้เกิดการแพ้ครับ สำหรับในบางเคสที่พบปัญหาหรือผลข้างเคียงหลังใช้ มีผื่น แดง อาจเกิดจากปัจจัยอื่น อย่างการแพ้สารกันบูดที่ผสมมาในผลิตภัณฑ์ หรือแพ้สารใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิตที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะในครีม เซรั่ม ที่อาจมีส่วนผสมของสารอื่น ๆ เช่น น้ำหอม แอลกอฮอล์
การฉีดสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอน มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
การใช้ไฮยาลูรอนแท้ที่ผ่านการรับรอง ไม่มีผลข้างเคียงที่อันตรายครับ แต่ถ้าฉีดฟิลเลอร์แล้วมี อาการแพ้ฟิลเลอร์ อาจเกิดจากการสังเคราะห์ ไฮยาลูโรนิค เอซิด ซึ่งได้มาจากการสกัดแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในผู้ใช้บางรายมีอาการแพ้ยาจากโปรตีนของแบคทีเรียที่ใช้สังเคราะห์ไฮยาลูรอน ดังนั้นก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ควรตรวจสอบส่วนประกอบ และห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ และเด็กครับ
ข้อควรระวังของการใช้ไฮยาลูรอน
ข้อระวังในการใช้ไฮยาลูรอน คือต้องตรวจสอบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดว่ามีส่วนผสมอื่นที่แพ้หรือไม่ และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากอย.ว่ามีความปลอดภัย
ไฮยาลูรอนมีผลต่อริ้วรอยอย่างไร ?
เมื่ออายุมากขึ้นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างผิว ทั้งคอลลาเจนและไฮยาลูโรนิค เอซิด จะลดลงเรื่อยๆ ตามวัย ทำให้ผิวเริ่มสูญเสียความแข็งแรง ความชุ่มชื้น ความกระชับและยืดหยุ่น รวมไปถึงความหนาแน่นของเซลล์บนผิวหน้า สิ่งที่จะตามมา คือ ริ้วรอยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หน้าดูมีอายุ ไฮยาลูรอนจึงมีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง ต่อริ้วรอยที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง
ไฮยาลูรอนหรือกรดไฮยาลูโรนิค โดยธรรมชาติแล้วจะสามารถละลายน้ำได้ และร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้ใหม่ โดยจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 24 วันตามสภาพร่างกาย แต่ไฮยาลูรอนจะหมดอายุ หรืออายุสั้นลงด้วยภาวะของความเครียดและอายุที่มากขึ้นครับ
คุณสมบัติที่สำคัญของกรดไฮยาลูรอน Hyaluronic acid (HA)
- ไฮยาลูรอน มีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีมาก แนะนำให้ใส่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่ความเข้มข้น 0.25% ถึง 2.00% ทั้งในครีมบำรุง และเครื่องสำอางหลากหลายรูปแบบ
- ไฮยาลูรอน ช่วยกรองรังสี UV ที่เป็นต้นเหตุทำให้ผิวหนังคล้ำเสีย และเป็นริ้วรอยก่อนวัย
- ไฮยาลูรอน ช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระ
- ไฮยาลูรอน ช่วยตรึงคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิวหนังแท้
- ไฮยาลูรอน ที่มีโมโลกุลใหญ่สามารถใช้เติมเต็มชั้นผิวได้
ไฮยาลูรอนช่วยอะไรได้บ้าง ?
ไฮยาลูรอน เป็นสารสำคัญที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นในชั้นผิว ทำให้คอลลาเจนและอิลาสตินทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูและปรับสภาพผิวที่ถูกทำลายจากแสงแดดและมลภาวะ รวมถึงเป็นตัวช่วยสำคัญในกระบวนการสมานแผล บรรเทาอาการอักเสบ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือเกิดรอยแผลเป็น
ประโยชน์ของกรดไฮยาลูรอน
- ไฮยาลูรอน ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นไว้บนผิวหนัง ทำให้ผิวไม่แห้ง เรียบเนียน มีความยืดหยุ่นและป้องกันการเกิดริ้วรอย ทำมาใช้ในวงการเสริมความงาม (Filler)
- ช่วยเรื่องการสมานผิว และฟื้นฟูผิวได้เร็วยิ่งขึ้น กรดไฮยาลูรอนจะช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเซลล์ผิวหนัง ให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นถึง 80%
- กรดไฮยาลูรอนิคจะไปช่วยเพิ่มการนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ผิว ในส่วนที่ไม่ได้ติดต่อกับเส้นเลือดโดยตรง ช่วยทำให้ผิวดูเต่งตึง มีชีวิตชีวา
- ช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระ และกรองรังสี UV ที่จะทำร้ายผิว
- ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือยา ช่วยลดอาการปวดข้อ ลดการอักเสบ การป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
- ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the knee), ภาวะอักเสบรอบข้อไหล่ (Scapulohumeral periarthritis), ต้อกระจก
- เป็นส่วนประกอบในครีม เจล โลชั่น แชมพู ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
- ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอน ช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง
- เจลรักษาแผลในปาก หรือช่วยสมานแผลและบรรเทาอาการแผลไฟไหม้
ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้ไฮยาลูรอน ?
การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนสังเคราะห์ทั้งครีม เซรั่มและฟิลเลอร์ เหมาะกับคนที่มีปัญหาผิว ดังนี้
- ผิวแห้งมาก ขาดความชุ่มชื้น
- มีริ้วรอย ความหย่อนคล้อยบนผิว หน้าเหี่ยวย่น
- มีร่องลึก และส่วนที่เนื้อยุบลงจากอายุที่มากขึ้น
- เสริมคาง หน้าผาก ขมับ ด้วยฟิลเลอร์โดยไม่ต้องผ่าตัด
- อยากรักษาสภาพผิวให้คงความอ่อนวัย และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย
วิธีการเลือกใช้ไฮยาลูรอนให้เหมาะกับตนเอง ?
กรดไฮยาลูรอน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของโครงสร้างผิว โดยเฉพาะเรื่องความชุ่มชื้นและริ้วรอย สำหรับคนไข้ที่มีปัญหาริ้วรอย ร่องลึก หรือผิวแห้งมาก
การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนควรเลือกตัวที่เหมาะกับปัญหาผิวของตัวเอง เพราะแต่ละคนมีลักษณะผิวไม่เหมือนกัน เช่น
- คนที่มีผิวแห้ง ขาดความยืดหยุ่น ต้องการความชุ่มชื้นมาก ควรใช้เป็นไฮยาลูรอนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นบนผิวได้ดี
- คนที่มีผิวผสม ผิวมัน ควรใช้เป็นไฮยาลูรอนที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก เนื่องจากจะไม่ทำให้ผิวมันเพิ่มขึ้นและช่วยควบคุมความชุ่มชื้นได้ดี
นอกจากนี้การเลือกใช้ควรดูส่วนผสมอื่น ๆ ประกอบ โดยเฉพาะในครีมที่มีสารอื่น ๆ อยู่ด้วยว่ามีสารที่แพ้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองผิวภายหลัง
คำถามที่บ่อยเกี่ยวกับ ไฮยาลูรอน
Q. สามารถเพิ่มไฮยาลูรอนในร่างกายตามธรรมชาติ ด้วยวิธีใดได้บ้าง ?
A. รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม สามารถช่วยผลิตไฮยาลูรอนในร่างกายตามธรรมชาติ เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ บร็อคโคลี่ มันเทศ และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
Q. ไฮยาลูรอนควรเริ่มใช้ในช่วงอายุเท่าไหร่ ?
A. เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปเมื่อร่างกายเริ่มผลิตไฮยาลูรอนตามธรรมชาติลดลง การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวและป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย
Q. สามารถใช้ไฮยาลูรอนร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นได้หรือไม่ ?
A. ไฮยาลูรอนสามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอื่น ๆ ตามปัญหาผิวของแต่ละคนได้ เช่น วิตามินซี เรตินอล แต่ควรศึกษาข้อมูลและเรียงลำดับการใช้อย่างเหมาะสม
สรุป เลือกใช้ไฮยาลูรอนอย่างไร ให้เห็นผลลัพธ์ไวที่สุด ?
อย่างที่เขียนไปข้างต้นครับ ปัจจุบันไฮยาลูรอน มีการนำมาใช้หลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหลักของ เซรั่ม ครีม ยาแบบรับประทาน หรืออยู่ในรูปแบบสารเติมเต็ม
สำหรับใครที่ต้องการปรับรูปหน้า ลดริ้วรอย เติมเต็มร่องลึก ปรับสภาพผิว เพิ่มความชุ่มชื้นแบบเร่งด่วน ก็สามารถเลือกการเติมฟิลเลอร์ได้เลย เห็นผลได้ไว ชัดเจน แต่ก็ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ ในคลินิกที่ได้มาตรฐาน มั่นใจว่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ผ่าน อย. และมีความปลอดภัยครับ
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง Inbox Facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Pingback: ฟิลเลอร์ คืออะไร ? อันตรายหรือไม่ พร้อมเผย การดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์
Pingback: ฟิลเลอร์ อันตรายไหม ? สิ่งที่ควรระวัง มีเรื่องไหนบ้าง มาฟังคำตอบได้ที่นี่ !
Pingback: การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา อันตรายหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ? อยากสวยต้องอ่าน !