ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน
การฉีดฟิลเลอร์ (Filler) ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเห็นผล เติมเต็มจุดต่าง ๆ ที่บกพร่อง ปรับรูปหน้าโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น สะดวกและปลอดภัยครับ
แม้การฉีดฟิลเลอร์จะมีความปลอดภัย แต่ถ้าไม่ได้ฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์และปรับรูปหน้ามามากพอ หลาย ๆ เคสนอกจากจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการแล้ว ยังมีผลข้างเคียงตามมา ที่พบได้บ่อยคือฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ไม่เรียบเนียน ซึ่งหมอจะมาอธิบายในบทความนี้ครับ
ตำแหน่งที่มักพบว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน
5 ตำแหน่งที่มักฉัดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนที่พบได้บ่อย มีดังนี้
1. ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาที่ชั้นผิวหรือตื้นเกินไป หรือเลือกยี่ห้อฟิลเลอร์ใต้ตาที่ไม่เหมาะสม ทำให้ฟิลเลอร์นูนขึ้นเหนือชั้นกล้ามเนื้อ มองเห็นเป็นก้อนใต้ตา บวม ย้อย หรือเห็นเป็นถุงใต้ตาได้
2. ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากแล้วเป็นก้อน เป็นคลื่น
ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากเป็นก้อน เป็นคลื่นไม่เรียบเนียบ เกิดจากฉีดฟิลเลอร์หน้าผากในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป ทำให้หน้าผากเป็นคลื่น ผิวไม่เรียบเนียน หรือนูนเกินไป คล้ายหัวปลาทอง ใบหน้าผิดรูปได้ครับ เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์หน้าผากที่ถูกวิธี คือ ต้องฉีดในชั้นเยื่อหุ้มกระดูกเท่านั้น ถึงจะดูเป็นธรรมชาติ
3. ฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อน อวบอิ่มเกินพอดี
ฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อน เกิดจากการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ปากที่มากเกินไป หรือเลือกยี่ห้อฟิลเลอร์ปากที่ไม่เหมาะสม ทำให้ปากออกมาอวบอิ่มเกินพอดี ปากใหญ่ ปากเจ่อ คล้ายปากเป็ด ไม่สวยงาม และดูไม่เป็นธรรมชาติครับ
4. ฉีดฟิลเลอร์คางแล้วเป็นก้อน
เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์คางในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อดึงฟิลเลอร์คางมารวมกันเป็นก้อน ทำให้เวลาพูดหรือยิ้ม จะเห็นคางย้อย คางยาวคางแหลมคล้ายคางแม่มด ดูผิดรูปได้
5. ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแล้วเป็นก้อน
ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแล้วเป็นก้อน มักจะเกิดจากหมอฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง การฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง หมอจะต้องฉีดลงในชั้นกระดูกใต้กล้ามเนื้อ และต้องฉีดในจุดที่ต่ำกว่าร่องแก้มเล็กน้อย ไม่ได้เป็นการฉีดที่ร่องแก้มโดยตรง เพื่อป้องกันการดึงของกล้ามเนื้อที่ใช้ยิ้ม หากฉีดในชั้นผิวที่ไม่ลึกพอ ตัวฟิลเลอร์จะโดนดึงขึ้นไปกองเป็นเนื้อเหนือร่องแก้มทำให้เป็นก้อน และจะยิ่งทำให้ร่องแก้มลึกขึ้นกว่าเดิมได้ครับ
สาเหตุฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อน
การฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน บวม ผิวไม่เรียบเนียน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เทคนิคและสบการณ์ของแพทย์ชนิดของฟิลเลอร์ที่ใช้ ปริมาณฟิลเลอร์ที่ใช้ ต้องเหมาะสมกับบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งหมอได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ดังนี้ครับ
แพทย์ขาดประสบการณ์และเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์ไม่ใช่ใครก็ฉีดได้ ต้องเป็นแพทย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด รวมถึงโครงสร้างสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ศิลปะด้านการปรับรูปหน้าเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่พึงพอใจและคุ้มค่าที่สุด
แพทย์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์จะทำให้มีความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ เพราะอาจฉีดผิดตำแหน่ง ผิดชั้นผิวได้ครับ
ชนิดของฟิลเลอร์ไม่เหมาะสมกับบริเวณที่ฉีด
ฟิลเลอร์ที่มีขนาดของโมเลกุลมีความหนาแน่นสูง ควรฉีดในผิวชั้นลึก ถ้านำมาฉีดในผิวชั้นตื้นก็จะทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ เช่น ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา หากใช้ฟิลเลอร์ที่มีความแข็งและเหนียวค่อนข้างมาก นำมาใช้ฉีดบริเวณใต้ตา ฟิลเลอร์อาจจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ตาได้ครับ
ใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่มากเกินไป
ปัญหาและสภาพผิวของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ปริมาณฟิลเลอร์ที่ใช้ และตำแหน่งที่ฉีด ต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมครับ เช่น ฉีดริ้วรอยลึกเกินไป หรือฉีดเติมร่องลึกที่ตื้นเกินไป ด้วยฟิลเลอร์ร่องแก้ม
นอกจากนี้การใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสม เกินความจำเป็นที่ใช้ในการแก้ปัญหาในจุดที่ต้องการฉีด ก็อาจทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ครับ
ฟิลเลอร์ที่ฉีดไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่าน อย.
ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ ราคาถูก ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจะจับตัวกันเป็นก้อน ไหลย้อยไม่เป็นทรง จึงไม่ควรฉีดโดยเด็ดขาด
หากฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน จะไม่มีตัวยาที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ ต้องขูดออกหรือศัลยกรรมผ่าตัดออกเท่านั้น ดังนั้นควรใช้ฟิลเลอร์แท้ แบรนด์ระดับโลกที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากอย. และตรวจสอบได้ทุกกล่องครับ
อาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์
หลังฉีดฟิลเลอร์อาจมีอาการบวมประมาณ 2-3 วัน แต่ในบางเคสที่ผิวบวมง่าย อาจพบอาการบวมได้ 5-7 วัน โดยปกติแล้วฟิลเลอร์จะเริ่มเข้าที่อยู่ที่ประมาณ 7-14 วัน
ในระหว่างนี้อาจจะต้องรอให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดมายุบบวมก่อนหลัง 7-14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นอาการบวม หรือฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อนครับ
ฟิลเลอร์เป็นก้อน อันตรายอย่างไรบ้าง ?
อันดับแรกเราต้องสังเกตก่อนครับว่า ฟิลเลอร์เป็นก้อนนั้นมีลักษณะอย่างไร เพราะมีทั้งฟิลเลอร์เป็นก้อนที่ไม่อันตรายและแบบอันตราย โดยคนไข้สามารถสังเกตได้จากการสัมผัส เช่น ถ้าคลำแล้วรู้สึกเป็นก้อนลึก ๆ อยู่ใต้ผิวหนัง เวลายิ้ม หัวเราะหรือพูดแล้วก้อนฟิลเลอร์จะไม่ปรากฎขึ้นมา หรือเป็นก้อนที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ฟิลเลอร์เป็นก้อนลักษณะนี้ถือว่าเป็นอาการปกติหลังฉีดฟิลเลอร์ครับ ก้อนฟิลเลอร์จะค่อย ๆ ยุบลงเรื่อย ๆ จนฟิลเลอร์สลายหมด ไม่อันตรายหรือมีผลข้างเคียง
ส่วนฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนที่อันตรายคือ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่เกิดจากการแสดงสีหน้าหรือขยับหน้า เวลาคลำผิวชั้นตื้นแล้วเป็นก้อน มีอาการบวมแดงร่วมด้วย ถือว่าเป็นอาการที่ผิดปกติครับ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจากคลินิกใช้ฟิลเลอร์ปลอม ที่ไม่ผ่าน อย.ไทย ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เมื่อฉีดเข้าไปจึงทำให้ดูเป็นก้อน และเสี่ยงผลข้างเคียงอื่นตามได้ครับ
วิธีแก้ไขฟิลเลอร์เป็นก้อน
การแก้ไขปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี โดยแพทย์จะเลือกวิธีเหมาะสมและปลอดภัยในแต่ละเคส ดังนี้ครับ
1. ฉีดสลายฟิลเลอร์
หากฟิลเลอร์ที่ฉีดมาเป็นฟิลเลอร์แท้ ไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid : HA) สามารถใช้ตัวยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase : HYAL) ฉีดเพื่อสลายฟิลเลอร์ได้ครับ
ซึ่งตัวยาไฮยาลูโรนิเดสสามารถใช้ฉีดสลายได้ทุกตำแหน่ง เช่น ฉีดสลายฟิลเลอร์ใต้ตา, ฉีดสลายฟิลเลอร์ปาก, ฉีดสลายฟิลเลอร์ร่องแก้ม เป็นต้น ส่วนวิธีการฉีดสลายฟิลเลอร์ในตำแหน่งต่าง ๆ หมอจะใช้วิธีฉีดสลายในลักษณะเดียวกันครับ คือฉีดตรงบริเวณที่ฟิลเลอร์เป็นก้อน
โดยแพทย์จะคำนวณปริมาณตัวยาที่จะใช้ฉีดสลาย จากปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดมากี่ CC เพื่อให้ได้ปริมาณยาสลายที่เหมาะสม และเมื่อฉีดแล้วไม่กระทบเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ หลังฉีดสลายจะเห็นผลทันทีในบางส่วน และจะเห็นผลต่อเนื่องใน 1-3 วัน หากต้องการฉีดฟิลเลอร์เพิ่ม ควรเว้นระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังฉีดสลายไปแล้ว
ทั้งนี้ควรฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพราะตัวยาฉีดสลายฟิลเลอร์ หากฉีดมากเกินไปอาจจะทำอันตรายต่อชั้นผิวได้ คือทำให้คอลลาเจนใต้ผิวที่มีอยู่เดิมเสื่อมสลายด้วย เพราะยาสลายฟิลเลอร์สามารถทำลายชั้นผิวได้ แพทย์ที่มีประสบการณ์จะสามารถประเมินปริมาณยาฉีดสลายได้อย่างเหมาะสม ไม่ทำลายชั้นผิวครับ
2. ขูดฟิลเลอร์
การขูดฟิลเลอร์ใช้กับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนที่ไม่ใช่ไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid : HA) ฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายเองได้ เช่น Polyamine (Aqualift), Hydrofilic gel เมื่อขูดแล้วอาจจะไม่สามารถเอาออกได้หมด อาจได้เพียง 60-70% เท่านั้น
3. ผ่าตัดฟิลเลอร์ออก
ใช้ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภทซิลิโคนเหลวมาแล้วเป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก รวมไปถึงผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์มานานจนเป็นพังผืดเกาะ การผ่าตัดส่วนใหญ่จะไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้หมด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉีดมา ต้องระวังทั้งเรื่องของเส้นประสาท เส้นเลือดสำคัญต่าง ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมในโรงพยาบาลครับ
ปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน จะมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ถ้าฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งจะรู้เทคนิคการฉีดในจุดต่าง ๆ บนใบหน้าที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดีครับ
ทั้งนี้ การฉีดฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมเหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากผ่าตัด ไม่อยากเจ็บตัว ไม่มีเวลา และอยากเห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็ว โดยจุดที่นิยมฉีดฟิลเลอร์บนใบหน้า ได้แก่ หน้าผาก ขมับ ใต้ตา แก้มส้ม ร่องแก้ม ปาก คาง
ฟิลเลอร์สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอย เติมเต็มร่องลึกบนใบหน้าให้กลับมาตื้นขึ้น ทำให้หน้าดูโทรม ดูแก่กว่าวัย กลับมาดูสดใส ดูอ่อนเยาว์ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือถ้าใครอยากปรับรูปหน้าเพื่อเสริมโหงวเฮ้งดีสามารถให้แพทย์ประเมินใบหน้าก่อนได้ครับ
การป้องกันปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน
ข้อสำคัญในการป้องกันปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน คือควรศึกษาข้อมูลของแต่ละคลินิกที่สนใจอย่างละเอียด โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้ครับ
- เลือกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์แท้เท่านั้น ฟิลเลอร์ปลอมหากฉีดแล้วจะไม่สามารถสลายเองได้ เสี่ยงต่อการเกิดฟิลเลอร์เน่า ฟิลเลอร์ไหล บวมเป็นก้อนได้ สำหรับฟิลเลอร์ที่ฉีดแล้วปลอดภัยคือฟิลเลอร์ชนิด HA ( Hyaluronic Acid ) ที่เป็นฟิลเลอร์แท้ผ่าน อย. เพราะสามารถย่อยสลายได้ 100% ภายในระยะเวลา 1-2 ปี หากฉีดแล้วไม่พอใจก็ฉีดสลายได้ หรือฉีดเพิ่มได้เรื่อย ๆ ไม่มีผลข้างเคียง
- เลือกฉีดฟิลเลอร์รกับคลินิกที่เปิดให้บริการอย่างถูกต้อง คลินิกต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีการแสดงภาพถ่าย ชื่อ และเลขที่ใบอนุญาตของผู้ประกอบการไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน และแพทย์ผู้ทำการรักษาต้องเป็นคนเดียวกับป้ายที่ติดไว้
- เลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ ข้อนี้สำคัญมากครับ เพราะแพทย์ที่มีประสบการณ์จะสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาใบหน้าของคนไข้แต่ละคนได้ตรงจุด หากแพทย์ไม่มีประสบการณ์มากพอ แก้ไขผิดวิธี อาจจะยิ่งทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้
สรุป
การป้องกันการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ที่ดีคือควรฉีดฟิลเลอร์แท้ที่ผ่าน อย. และเลือกหมอที่มีประสบการณ์ ยิ่งนาน ยิ่งชำนาญก็จะยิ่งดีครับ เพราะการฉีดฟิลเลอร์จะต้องอาศัยความถนัดและใช้ฝีมือในการออกแบบใบหน้าให้กับคนไข้ เพื่อให้สวยดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้ง 30 สาขา หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ